คณาจารย์​ และนิสิต​ คณะ​สังคม​ศาสตร์​ มจร​ ลงพื้นที่ติดตาม​กิจกรรม​ภายใต้​โครงการ​ออมสิน​ยุ​วพัฒน์​รักษ์​ถิ่น​ ปีที่​ ๒

เมื่อเราไม่สำคัญเขาจึงไม่นึกถึงเรา​ ทำอย่างไร ที่เราจะทำให้ “มหาจุฬา” เป็นมหาวิทยาลัยแรกๆ ที่ถูกนึกถึงจากคนในสังคม

โจทย์ที่ท้าทายสำหรับครูบาอาจารย์ บุคลากร และนิสิตของมหาจุฬาฯ ที่จะต้องร่วมกันผลักดันคำว่า “มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย” ให้เป็นที่รู้จักของคนในสังคมอย่างทั่วถึงในปัจจุบัน..

เมื่อวันที่​ ๗​ มีนาคม​ ๒๕๖๒​ ที่ผ่านมา​ รศ.ดร.วิวัฒน์ หามนตรี ได้นำนิสิตสาขาวิชาการพัฒนาสังคม ในระดับปริญญาโท ลงพื้นที่ชุมชนบ้านบางตาแผ่น ต.คลองวัว อ.เมือง จ.อ่างทอง เพื่อร่วมกันพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น และสร้างความเข้มแข็งแก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานผักตบชวาบ้านบางตาแผ่น เป็นการต่อยอดธุรกิจชุมชน จากการเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนแบบ SMEs สู่การเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนแบบ SMEs Startup เพื่อก้าวไปสู่การเป็นธุรกิจที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ภายใต้ โครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปีที่ ๒” โดยความร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กับ ธนาคารออมสิน และภาคีสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว นิสิตได้รับฟังสภาพปัญหาของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานผักตบชวาบ้านบางตาแผ่น และนั่งสนทนาร่วมถอดบทเรียนกับตัวแทนเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดจากธนาคารออมสิน โดยนิสิตได้บูรณาการศาสตร์ความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนา (The Research and Development, R&D) ในรายวิชาระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูงเพื่อการพัฒนาสังคม ซึ่งสอนโดย พระสุธีรัตนบัณฑิต,รศ.ดร. ซึ่งงานวิจัยแบบ R&D มีลักษณะเด่นอย่างหนึ่งคือการเป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่ใช้กระบวนการศึกษาค้นคว้าอย่างเป็นระบบ มุ่งพัฒนาทางเลือกหรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อใช้ในการยกระดับคุณภาพงานหรือคุณภาพชีวิตใน ๒​ลักษณะ คือ ต้องการแก้ปัญหา และต้องการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างยั่งยืน

 

 

ภาพ​/ข่าว​ : นนทนันท์​ พงษ์​เพชร​
รายงาน​ : เรวดี​ จรรยา