วันที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร. อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมตตาเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร ครั้งที่ ๓ (MCU Congress 3) เรื่อง “นวัตกรรมทางการปกครองและทางการบริหารจัดการในยุคไทยแลนด์ ๔.๐” และ นายสมเกียรติ ธงศรี รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยการมอบหมายของ นายเทวัญ ลิปตภัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยมี ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ คณะสังคมศาสตร์ อาทิ พระครูปริยัติกิตติธำรง, รศ.ดร. คณบดีคณะสังคมศาสตร์, พระอุดมสิทธินายก, ผศ.ดร., รศ.ดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป และ ผศ.ดร.เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง รองคณบดีคณะสังคมศาสตร์ ฝ่ายวิชาการ เข้าร่วมโครงการอย่างพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องประชุมเธียเตอร์ ชั้น ๑ อาคารเรียนรวม โซน B มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
งานประชุมวิชาการระดับชาติ มจร ครั้งที่ ๓ (MCU Congress 3) ภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรม ทางการปกครองและทางการบริหารจัดการในยุคไทยแลนด์ 4.0” จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสู่สาธารณะด้วยการตีพิมพ์ทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่และจะเป็นเวทีสาธารณะเพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยและงานวิชาการหลากหลายสาขาที่มีการนําหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาที่เรียกว่า “พุทธบูรณาการ”
ในการจัดงานครั้งนี้ มีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมจำนวน ๑๒ หน่วบงาน ประกอบด้วย ๑) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ๓) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ๔) สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ๕) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๖) สถาบันรัชต์ภาคย์ ๗) มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ๘) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ๙) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ๑๐) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ๑๑) มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และ ๑๒) มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ทั้งนี้ การนำเสนอและวิพากษ์บทความ แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม ประกอบด้วย
๑) กลุ่มนวัตกรรมทางการจัดการเชิงพุทธ
๒) กลุ่มนวัตกรรมทางรัฐประศาสนศาสตร์
๓) กลุ่มนวัตกรรมทางรัฐศาสตร์
การดําเนินงานเกี่ยวกับบทบาททางวิชาการ คณะผู้จัดงานได้กําหนดให้มีการเปิดรับบทความ โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้นําเสนอบทความในการประชุมกลุ่มย่อยและผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้นําเสนอในรูปแบบของโปสเตอร์ ในการจัดประชุมวิชาการระดับชาติครั้งนี้ มีบทความที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อตีพิมพ์จํานวน ทั้งสิ้น ๒๑๔ เรื่อง โดยมีบทความที่ผ่านการคัดเลือกให้นําเสนอในการประชุมกลุ่มย่อย จํานวน ๘๔ เรื่อง นําเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ จํานวน ๓๕ เรื่อง และเมื่อสําเร็จการประชุมดังกล่าวแล้ว จะได้มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมครั้งนี้เพื่อเผยแพร่แก่สาธารณะต่อไป