งานประชุมวิชาการระดับชาติ มจร ครั้งที่ ๓ (MCU Congress 3)

วันที่​ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๖๒ พระราชปริยัติกวี,ศ.ดร.​ อธิการบดี มหาวิทยาลัย​มหา​จุฬา​ลง​ก​รณ​ราช​วิทยาลัย​ เมตตาเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ มจร ครั้งที่ ๓ (MCU Congress 3) เรื่อง “นวัตกรรมทางการปกครองและทางการบริหารจัดการในยุคไทยแลนด์ ๔.๐” และ นายสมเกียรติ ธงศรี รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยการมอบหมายของ นายเทวัญ ลิปตภัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส โดยมี​ ผู้​บริหาร​ คณาจารย์​ และ​เจ้า​หน้าที่​ คณะ​สังคม​ศาสตร์​ อาทิ​ พระ​ครู​ปริยัติ​กิตติ​ธำรง, รศ.ดร.​ คณบดี​คณะ​สังคม​ศาสตร์, พระอุดมสิทธิ​นายก, ผศ.ดร., รศ.ดร.สุรพล​ สุ​ยะ​พรหม​ รอง​อธิการบดี​ฝ่าย​กิจการ​ทั่วไป​ และ ผศ.ดร.เกียรติ​ศักดิ์​ สุข​เหลือง​ รองคณบดี​คณะ​สังคม​ศาสตร์​ ฝ่าย​วิชาการ​ เข้าร่วมโครงการ​อย่าง​พร้อม​เพรียง​กัน​ ณ ห้องประชุมเธียเตอร์ ชั้น ๑​ อาคาร​เรียน​รวม​ โซน B มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบล​ลำ​ไทร​ อำเภอ​วังน้อย​ จังหวัด​พระนคร​ศรี​อยุธยา​

งานประชุมวิชาการระดับชาติ มจร ครั้งที่ ๓ (MCU Congress 3) ภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรม ทางการปกครองและทางการบริหารจัดการในยุคไทยแลนด์ 4.0” จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสู่สาธารณะด้วยการตีพิมพ์ทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่และจะเป็นเวทีสาธารณะเพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัยและงานวิชาการหลากหลายสาขาที่มีการนําหลักพุทธธรรมไปประยุกต์ใช้​เพื่อการพัฒนาที่เรียกว่า “พุทธบูรณาการ”

ในการจัดงานครั้งนี้ มีภาคีเครือข่ายเข้าร่วมจำนวน ๑๒ หน่วบงาน ประกอบด้วย ๑) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย​ ๒) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย​ ๓) สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ๔) สํานักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ๕) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๖) สถาบันรัชต์ภาคย์ ๗) มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ๘) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ๙) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ๑๐) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ๑๑) มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี และ ๑๒) มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ทั้งนี้ การนำเสนอและวิพากษ์บทความ แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม ประกอบด้วย
๑) กลุ่มนวัตกรรมทางการจัดการเชิงพุทธ
๒) กลุ่มนวัตกรรมทางรัฐประศาสนศาสตร์
๓) กลุ่มนวัตกรรมทางรัฐศาสตร์

การดําเนินงานเกี่ยวกับบทบาททางวิชาการ คณะผู้จัดงานได้กําหนดให้มีการเปิดรับบทความ โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้นําเสนอบทความในการประชุมกลุ่มย่อยและผู้ที่ได้รับการคัดเลือกให้นําเสนอในรูปแบบของโปสเตอร์ ในการจัดประชุมวิชาการระดับชาติครั้งนี้​ มีบทความที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อตีพิมพ์จํานวน ทั้งสิ้น ๒๑๔ เรื่อง โดยมีบทความที่ผ่านการคัดเลือกให้นําเสนอในการประชุมกลุ่มย่อย จํานวน ๘๔ เรื่อง นําเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ จํานวน ๓๕ เรื่อง และเมื่อสําเร็จการประชุมดังกล่าวแล้ว จะได้มีการตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมครั้งนี้เพื่อเผยแพร่แก่สาธารณะต่อไป