วันพฤหัสบดีที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๖๒ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำโดย พระครูปลัดอุดร ปริปุณฺโณ, ดร. , พระคมสัน ฐิตเมธโส, ผศ. , ผศ.ชวัชชัย ไชยสา, อาจารย์ ดร. เอนก ใยอินทร์, อาจารย์ ดร.นพดล ดีไทยสงค์ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่และนิสิต คณะสังคมศาสตร์ จัดโครงการสังคมศาสตร์บริการวิชาการสู่ชุมชน ”เรื่อง การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนบ้านห้วยสิบบาท” ณ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบ้านห้วยสิบบาท ต.เจริญธรรม อ.วิหารแดง จ.สระบุรี
ในโครงการดังกล่าว ช่วงเช้า มีพิธีเปิดนิทรรศการแห่งชีวิตชุมชนบ้านห้วยสิบบาท โดย นายสมศักดิ์ แก้วเสนา นายอำเภอวิหารแดง และการเสวนาภูมิปัญญาชาวบ้าน เรื่อง ”การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนบ้านห้วยสิบบาท” วิทยากรโดย นายสมศักดิ์ แก้วเสนา นายอำเภอวิหารแดง, นายจักรพันธุ์ ทรัพย์สมบูรณ์ ผู้ใหญ่บ้านชุมชนบ้านห้วยสิบบาท, นายสุทัศน์ หมวกวิลัย ปราชญ์ชาวบ้าน และ อาจารย์ ดร. เอนก ใยอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นอกจากนี้ยังมี การแสดงดนตรีไทย-กลองยาว ของนักเรียนโรงเรียน โรงเรียนวัดราษฏร์เจริญธรรม อีกด้วย
ช่วงบ่าย มีกิจกรรมให้เยาวชนเข้าศึกษาตามฐานการเรียนรู้ภูมิปัญญาชุมชน โดยแบ่งเป็น ๑๓ ฐาน ดังนี้
ฐานเรียนรู้ที่ ๑ การเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์ AF ปุ๋ยมูลไส้เดือน และเพาะถั่วงอก
ฐานเรียนรู้ที่ ๒ การใช้สมุนไพรไทยทำเครื่องประเทืองผิวและนวดเพื่อผ่อนคลาย
ฐานเรียนรู้ที่ ๓ ส่งเสริมเรียนรู้ด้านการศึกษาและการเพาะถั่วงอกแบบครัวเรือน
ฐานเรียนรู้ที่ ๔ การทำขนมไทยและน้ำสมุนไพร
ฐานเรียนรู้ที่ ๕ การเย็บผ้าโหล พรมเช็ดเท้า
ฐานเรียนรู้ที่ ๖ โรงสีข้าวชุมชน การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ
ฐานเรียนรู้ที่ ๗ การทำแห
ฐานเรียนรู้ที่ ๘ การนวดแผนไทย
ฐานเรียนรู้ที่ ๙ วิถีชีวิตพอเพียง
ฐานเรียนรู้ที่ ๑๐ การทำเมี่ยงคำ
ฐานเรียนรู้ที่ ๑๑ ไพหญ้าคา
ฐานเรียนรู้ที่ ๑๒ เผาถ่านไม้ไร้ควัน
ฐานเรียนรู้ที่ ๑๓ ทำที่นอน
วิทยากรโดย นายยอด บุญยกานต์, นางสาวปวริศา ศรีวิเศษ, นายบุญมี พวงผะกา, นายสุริยา ฉิมพาลี, นายสมศักดิ์ งามเลิศ, นายลี ทานะมัย, นายทองใบ ทรัพสมบูรณ์, นายพล ปลอดห่วง, นายพงษ์ศักดิ์ ยลพันธ์, นายถาวร ทาสาน และชาวบ้านในชุมชน หลังจากเสร็จกิจกรรม มีการมอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โรงเรียนวัดราษฏร์เจริญธรรม และโรงเรียนหนองสรวง
จากโครงการดังกล่าว ทำให้นิสิตได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชน ได้เข้าใจวิธีการนำทฤษฎีที่ได้ศึกษา ไปปฏิบัติได้จริงอย่างถูกต้อง ได้เห็นประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมของการศึกษา สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ในการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริง และสามารถนำไปวางแผนความก้าวหน้าทางวิชาชีพได้ นอกจากนี้ ยังเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับปราชญ์ชุมชนบ้านห้วยสิบบาท สามารถนำความรู้และประสบการณ์ตรงที่ได้ ไปปรับใช้กับชุมชนของตนเอง และมีแรงบันดาลใจในการทำงานเพื่อพัฒนาสังคม สนองนโยบายของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาจิตใจและสังคมต่อไป
ภาพ : นเรศ ฤทธิเดช
ข่าว : เรวดี จรรยา